ก ข ค


“Beyond the education”
CALL US: +66(0)5324-2038

//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แบบทดสอบเรื่องกาพย์และโคลง จำนวน ๑๐ ข้อ
วิธีทำ
๑. เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
๒. อ่านคำถามและตีความให้ละเอียดถี่ถ้วน
1) เซอะซุ่มซ่ามไซร้ ไป่ควร
เงอะงะเกะกะกวน จิตฟุ้ง
ทำใด … ยั่วยวน ความโกรธ เสมอนา
ชักแต่ดุด่ากลุ้ม … ด้วยเซอะเซิง
คำในข้อใดเหมาะสมที่จะนำมาเติมในช่องว่าง...ของคำประพันธ์ข้างต้น ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์และความหมาย
2) บาทที่ 3 ของโคลงสี่สุภาพต่อไปนี้ ข้อใดแต่งถูกต้องตาม
ลักษณะบังคับทุกประการ
ข. นารายณ์เจื่องเจ้านิทร นานเนา แล้วเฮย
ค. นารายณ์เนื่องนิทรสินธุ์ นานตื่น
ง. นารายณ์เนาในสินธุ์ นานนับ แลนา
3) “เดินเที่ยวอยู่เดียวดายใจมิวายคิดกังวล หากมีใครสักคนมา
เดินด้วยคงจะดี”
ข้อความนี้หากจัดวรรคให้ถูกต้อง จะเป็นคำประพันธ์ชนิดใด
4) ข้อความต่อไปนี้ ถ้าจัดให้ถูกต้องจะเป็นฉันทลักษณ์ชนิดใด
โดยเสด็จเด็ดดวงสวาทแรมนิราศคลาดพักตราป่านนี้แก้วพี่อานอนฤานั่งตั้งตาคอยอยู่เดียวเปลี่ยวใจเศร้าคิดถึงเจ้าเปล่าใจถอยเสียดายวายรักร้อยชั่งเรียมเอยไม่เคยไกล
ข. กาพย์สุรางคนางค์ ง. กาพย์ยานี
5) คำที่ต้องเติมลงไปในโคลงสี่สุภาพต่อไปนี้คือคำใด
โมงเมียงแมกม่วงไม้ มองเมีย
ยางเหยียบยอดยางเยีย ยาตร ……….
คลิ้งโคลงคล่ำคล้าเคลีย คลอเคล่า
แอ่นแอ่นอกแอบเอื้อง ออกเอี้ยงอึงอล
6) ข้อความต่อไปนี้หากจัดระเบียบฉันทลักษณ์ถูกต้อง จะเป็นคำประพันธ์ชนิดใด
มหาโจรเที่ยวปล้นฆ่ามหาชนด่าอุบาทว์ราชทัณฑ์ปรนปราบ
ป้องมหาราชยาตรพหลผจญมหาราษฎร์ละพ่อชมฉกาจราชเดช
ก้องเกียรติกนั้นขันไหม?
7) ข้อใดเป็นบาทสุดท้ายของโคลงต่อไปนี้
รัศมีก่องยิ่งแก้ว สุริยกานต์
เลอพิศพร่างโอฬาร เพริศแพร้ว
ประกายพรายแผ่ไพศาล สว่างทั่ว ถิ่นแฮ
ก. ยามเปรียบยิ่งดวงแก้ว พ้นแล้วอุปมา
ข. ยังแผ่นดินเลิศแล้ว พร่างพ้นสุริย์ฉาย
ค. ยิ่งแสงสุริยะแคล้ว เลิศล้ำแสงฉาย
ง. ฉาบแผ่นดินให้แผ้ว พ่างพื้นพิมานสถาน
8) เอ๊ ! ใครนะช่างคิดประดิษฐ์จรวดนำวิถี ชาติใดหากไม่มีไว้ใช้คงเสียเปรียบจัง ประเทศมหาอำนาจหลายชาติต่างอยากเด่นดัง สร้างจรวดเก็บเข้าคลังอาวุธอย่างอเนกนับ
ข้อความนี้สามารถอ่านเป็นร้อยกรองชนิดใด
9) ไทยยงคงศักดิ์ด้วย ดวงดี เด่นฤา
ฤาปะเหมาะเคราะห์ปี- ศาจคุ้ม
ลำพังชะตามี ก็อาจ อับนอ
เพราะพิรัชภัยคลุ้ม คลั่งล้อมรอบคาม
คำประพันธ์นี้ใช้คำตายแทนคำเอกกี่คำ
10) ข้อใดมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อให้มีรูปวรรณยุกต์ถูกต้อง
ตามฉันทลักษณ์
ข. พระครวญถึงอ่อนท้าว หนักอุระราชร้าว
ค. อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง
ง. มาแต่ตัวเข้าข้อง ข่ายท้าวทั้งสอง

