top of page

แบบทดสอบ ชุดที่ 2

1. ข้อใดกล่าวถึงเรื่องกาพย์เห่เรือ ของเจ้าฟ้ากุ้งไม่ถูกต้อง

            ก. คนไทย เห่เรือเพื่อบูชาเทพเจ้า  คือพระราม           

            ข. เรือพระที่นั่ง ที่พระเจ้าอยู่หัวประทับ ชื่อ เรือกิ่งแก้ว

            ค. ลำดับเนื้อเรื่องคือ ชมเรือ ชมปลา ชมไม้  ชมนก     

            ง. ฉันทลักษณ์ที่ใช้แต่งคือ กาพย์ห่อโคลง

 

2. คำประพันธ์ข้อใดให้จินตภาพที่แตกต่างไปจากพวก

            ก.     เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผน               โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง

                  ดูยิ่งสิงห์ลำพอง                    เป็นแถวท่องล่องตามกัน 

            ข.     เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ                 แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง

                 เพียงม้าอาชาทรง                   องค์พระพายผายผันผยอง

            ค.     เรือชัยไวว่องวิ่ง                   รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม

                 เสียงเส้าเร้าระดม                   ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน    

            ง.      นาคาหน้าดังเป็น                ดูเขม้นเห็นขบขัน

                  มังกรถอนพายพัน                 ทันแข่งหน้าวาสุกรี

 

3.  คำประพันธ์ข้อใดมีลักษณะเด่นทั้งด้านวรรณศิลป์และด้านสังคมมากที่สุด

            ก.     หางไก่ว่ายแหวกว่าย            หางไก่คล้ายไม่มีหงอน

                  คิดอนงค์องค์เอวอร               ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร

            ข.    เพียนทองงามดั่งทอง            ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย

                 กระแหแหห่างชาย                  ดั่งสายสวาทคลาดจากสม

            ค.    ประยงค์ทรงพวงห้อย           ระย้าย้อยห้อยพวงกรอง

                  เหมือนอุบะนวลละออง          เจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม

            ง.     สาวหยุดพุทธชาด               บานเกลื่อนกลาดดาษดาไป

                 นึกน้องกรองมาลัย                 วางให้พี่ข้างที่นอน

 

4.  ข้อใดมีคำที่ไม่เข้าพวกปนอยู่ด้วย

            ก.   สัตวา  ดุเหว่า  แขกเต้า  โนรี                          

            ข.  รำเพย  กาหลง  สุกรม  นางแย้ม

            ค.   มังกร  เลียงผา  อินทรี  วาสุกรี                       

            ง.  แก้มช้ำ  น้ำเงิน  หวีเกศ  สร้อยทอง

 

5.  คำประพันธ์ข้อใดไม่มีการใช้คำไวพจน์

            ก.     พิศพรรณปลาว่ายเคล้า        คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์

                 มัตสยายังรู้ชม                     สมสาใจไม่พามา

            ข.      ปลาเสือเหลือที่ตา             เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง

                 เหมือนตาสุดาดวง                 ดูแหลมล้ำขำเพราคม

            ค.      งามทรงวงดั่งวาด              งามมารยาทนาดกรกราย

                 งามพริ้มยิ้มแย้มพราย              งามคำหวานลานใจถวิล

            ง.      เพรางายวายเสพรส            แสนกำสรดอดโอชา

                  อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                  อิ่มโศกาหน้านองชล

 

6.  ข้อใดมีการใช้กลวิธี การเล่นคำ

            ก.   ยามสองฆ้องยามย่ำ    ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง        

            ข.  งามพริ้มยิ้มแย้มพราย   งามคำหวานลานใจถวิล

            ค.   สาลิกามาตามคู่        ชมกันอยู่สู่สมสมร       

            ง.  เสียงสรวลระรี่นี้          เสียงแก้วพี่ ฤาเสียงใคร

 

7.  การพรรณนาเนื้อความข้อใดใช้กลวิธีแตกต่างไปจากพวก

            ก.     สาลิกามาตามคู่                  ชมกันอยู่สู่สมสมร

                  แต่พี่นี้อาวรณ์                       ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ

            ข.     มะลิวัลย์พันจิกจวง             ดอกเป็นพวงร่วงเรณู

                  หอมมาน่าเอ็นดู                    ชูชื่นจิตคิดวนิดา

            ค.      แมลงภู่คู่เคียงว่าย              เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม

                   คิดความยามเมื่อสม             สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง

            ง.       จำปาหนาแน่นเนื่อง           คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม

                   คิดคะนึงถึงนงราม               ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง

 

8.  คำประพันธ์ข้อใดไม่สะท้อนคุณค่าด้านสังคม

            ก.  ยามสองฆ้องยามย่ำ         ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง        

            ข.   เห็นฝูงยูงรำฟ้อน           คิดบังอรร่อนรำกราย

            ค.  หางไก่ว่ายแหวกว่าย        หางไก่คล้ายไม่มีหงอน    

            ง.   คางเบือนเบือนหน้ามา     ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย

9. คำประพันธ์ข้อใดสะท้อนความเชื่อและค่านิยมของคนในสังคมทุกยุคทุกสมัย

            ก.   เรื่อยเรื่อยมารอนรอน             ทิพากรจะตกต่ำ

            ข.   คิดคะนึงถึงนงราม                ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง

            ค.   ม่อยหลับกลับบันดาล            ฝันเห็นน้องต้องติดตา

            ง.   คิดอนงค์องค์เอวอร               ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร

10.  ฉันทลักษณ์ข้อใดใกล้เคียงกับคำประพันธ์ที่ยกมามากที่สุด

            “     รวยรินกลิ่นรำเพย                  คิดพี่เคยเชยกลิ่นปราง

               นั่งแนบแอบเอวบาง                  ห่อนแหห่างว่างเว้นวัน ”

            ก.    คชสีห์ทีผาดเผ่น                  ดูดั่งเป็นเห็นขบขัน

               ราชสีห์ที่ยืนยัน                         คั่นสองคู่ดูยิ่งยง

            ข.    ปลากรายว่ายเคียงคู่              เคล้ากันอยู่ดูงามดี

               แต่นางห่างเหินพี่                     เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร

            ค.    นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง            จับไม้เรียงเคียงคู่สอง

               เหมือนพี่นี้ประคอง                   รับขวัญน้องต้องมือเบา

            ง.     เวรามาทันแล้ว                    จึงจำแคล้วแก้วโกมล

                ให้แค้นแสนสุดทน                  ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย

bottom of page