สามก๊ก
อันคำโบราณกล่าวไว้ว่าผู้จะตั้งตัวเป็นใหญ่ถึงจะมีบ้านเมืองได้ก็เอาแต่ชัยชนะเท่านั้นผู้ใดเป็นเสี้ยหนามก็ทำอันตรายผู้นั้นมิได้ทำอันตรายแก่บุตรภรรยาและราษฎรทั้งปวง
(ตอนที่17:บิต๊กกล่าวแก่ลิโป้ ตอนที่ลิโป้ตีเมืองเสียวพ่ายของเล่าปี่แตก)
อันธรรมดาการศึกนั้น
ถ้าจะว่าสิ่งใดกับแม่ทัพนายกอง
จงประมาณการให้แน่นอนก่อนจึงว่า
(ตอนที่23:เตียวเลี้ยวทัดทานกวนอูดูฝีมืองันเหลียงก่อนออกรบ)
อันธรรมดาพี่น้องกันนั้น
อุปมาเหมือนหนึ่งแขนซ้ายแขนขวา
เหตุใดท่านจะมาคิดใจเบาตัดแขนซ้ายขวาเสียนั้นไม่ควร
(ตอนที่ 29:อองสิ้วเข้าห้ามปรามอ้วนถำมิให้รบด้วยอ้วนซง)
ซึ่งจะเอาความคิดแลปัญญาข้าพเจ้าไปเปรียบนั้นไกลนักตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกาจะมาเปรียบพญาหงส์นั้นไม่ควรอนึ่งม้าอาชามีกำลังน้อย หรือจะมาเปรียบพญาราชสีห์ได้อันคนนี้มีปัญญาลึกซึ้งกว้างขวางนักอาจสามารถที่จะหยั่งรู้การในแผ่นดินแลอากาศเป็นเอกอยู่แต่ผู้เดียวซึ่งจะหาผู้ใดเปรียบเสมอสองนั้นมิได้
(ตอนที่ 33:ชีซีกล่าวแนะนำขงเบ้งแก่เล่าปี่)
อันธรรมดาว่าสงคราม
จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้
ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง
(ตอนที่33:โจโฉว่าแก่โจหยินตอนถูกชีซีตีแตก)
แต่ธรรมดานกทั้งปวงซึ่งตกฟองในรัง
แม้ว่ารังทำลายแล้วฟองนั้นก็ตกแตก
มิอาจสามารถจะตั้งอยู่ได้
(ตอนที่36:บุตรขงหยงว่าแก่คนใช้ เมื่อรู้ว่าบิดาขงหยงถูกโจโฉสั่งฆ่า)
อันตัวข้าพเจ้านี้ถึงตายก็จะเอาโลหิตทาแผ่นดินไว้ให้ปรากฎ
จะขอสนองคุณท่าน
(ตอนที่37:จูล่งพาอาเต๊าไปให้เล่าปี่)
เล่าปี่ครั้งนี้อุปมาเหมือนปลาขังอยู่ในถัง เสือตกอยู่ในหลุม
ถ้าแลจะละเสียให้เล็ดลอดหนีไปได้บัดนี้
ก็เหมือนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงในมหาสมุทร
(ตอนที่37:โจโฉว่าแก่ทหารทั้งปวงให้ยกทหารเข้าตีเล่าปี่)
อันธรรมดาเกิดเป็นชายเมื่อปราถนาจะเป็นใหญ่แม้ได้ทีที่ไหนก็จะทำการที่นั่นอันจะคิดรั้งรออยู่กลัวแต่ความนินทาฉะนี้นานไปเมื่อหน้าเป็นของคนอื่นแล้วจะคิดทำการต่อภายหลังก็จะมิได้ความเดือดร้อนเสียใจอยู่หรือ
(ตอนที่ 49: เตียวสงให้เล่าปี่ไปเอาเมืองเสฉวน)
อันธรรมดาผู้เป็นน่ยทัพนายกองจะทำการสงคราม
ถ้าแพ้ก็อย่าเพ่อเสียใจ แม้ได้ชัยชนะก็อย่าเพิ่งทะนง
(ตอนที่45:เตียวเลี้ยวเตือนสติแก่นายทหารทั้งปวง)